บ้านธรรมดา ที่ขึ้นทะเบียนเกษตกร ทำไร่ แต่วันนี้ เจ้าของบ้าน ไม่อยู่แล้ว

สวัสดีครับวันนี้เกษตรรุ่นใหม่ไม่จนมีเรื่องราวดีๆ เป็นอีกหนึ่งเรื่องราวที่สร้างแรงบันดาลใจอย่างมาก เป็นภาพที่พูดได้เต็มปากเลยว่า เห็นทีไรก็จะคิดถึงเจ้าของบ้านทุกที จนแทบน้ำตาไหลได้เลย เมื่อครั้งเฟซบุ๊ก Duke Rangson ได้โพสต์ภาพพร้อมคำบรรยายที่อ่านแล้วกลับทำให้หลายคนต้องจุกกับคำว่า เจ้าของบ้านไม่อยู่แล้วครับ

โดยในภาพนั้นเป็นภาพของบ้านพักส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ในพื้นที่โครงการชั่งหัวมัน จังหวัดเพชรบุรี โดยเนื้อหานั้นความว่า เจ้าของบ้านไม่อยู่แล้วครับบ้านเลขที่ ๑ หมู่ที่ ๕ บ้านหนองคอไก่ ตำบลเขากระปุก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรีเจ้าของบ้านถือโฉนดและมีชื่อในทะเบียนบ้าน ขึ้นทะเบียนเป็นเกษตรกรทำไร่

นี่ไงครับ บ้านพ่อผมวังของพระราชาที่ทรงงานหนักที่สุดในโลกภาพบ้านพักส่วนพระองค์ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราชในพื้นที่โครงการชั่งหัวมัน เพชรบุรี

ย้อนไปเมื่อ ปี พ.ศ. ๒๕๕๑ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงซื้อที่ดินจากราษฎรบริเวณอ่างเก็บน้ำ หนองเสือ ประมาณ ๑๒๐ ไร่ และต่อมา ปี พ.ศ. ๒๕๕๒ ทรงซื้อแปลงติดกันเพิ่มอีก ๑๓๐ ไร่ รวมเนื้อที่ทั้งหมด ๒๕๐ ไร่ โดยมีพระราชดำริให้ทำเป็นโครงการตัวอย่างด้านการเกษตร รวบรวมพันธุ์พืชเศรษฐกิจในพื้นที่ อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี

และพื้นที่ใกล้เคียง โดยเริ่มดำเนินการตั้งแต่วันที่ ๑๓ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๕๒ และพระราชทานพันธุ์มันเทศซึ่งออกมาจากหัวมันที่ตั้งโชว์ไว้บนตาชั่งในห้อง ทรงงานที่วังไกลกังวลให้นำมาปลูกไว้ที่นี่ พระราชทานชื่อโครงการว่า “โครงการชั่งหัวมัน ตามพระราชดำริ”

ที่มาของชื่อโครงการชั่งหัวมัน ครั้งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวเสด็จไปประทับที่พระราชวังไกลกังวล มีชาวบ้านนำมันเทศมาถวาย ซึ่งทรงวางไว้บนตาชั่งแบบโบราณ แล้วพระองค์เสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ เมื่อพระองค์เสด็จฯ มายังพระราชวังไกลกังวล

จึงพบว่า มันเทศที่ทรงวางบนตัวชั่ง มีใบงอกออกมา จึงรับสั่งให้นำหัวมันนั้นไปปลูกใส่กระถางไว้ในวังไกลกังวลแล้วทรงมีพระราชดำรัสให้หา พื้นที่เพื่อทดลองปลูกมันเทศ เหตุผล ก็คือ เพราะหัวมันบนตาชั่งยังขึ้นได้แล้วที่แห้งแล้งขนาดไหนก็ต้องขึ้นได้เช่นกัน

ในอดีตที่ดินแห่งนี้แห้งแล้งมากจะปลูกอะไรก็ลำบาก ติดปัญหาเรื่องน้ำ พระองค์ท่านได้ทรงทำเพื่อพิสูจน์ให้เป็นแม่บท สำหรับการเป็นศูนย์กลางเรียนรู้ด้านเกษตรกรรมของชาวบ้าน โครงการชั่วหัวมันเป็นการบริหารทรัพยากรแบบบูรณาการ

โดยใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้คุ้มค่ามากที่สุดขณะเดียวกันก็พยายามเปลี่ยนวิกฤติให้เป็นโอกาสโดยมีเป้าหมายต้องการให้เป็นศูนย์รวมพืชเศรษฐกิจของ อ. ท่ายาง เพชรบุรี โดยเลือกพันธุ์พืชท้องถิ่นที่ดีที่สุดเข้ามาปลูกแล้วให้ภาครัฐและชาวบ้านร่วมดูแลด้วยกันเพื่อแลกเปลี่ยน พัฒนาแนวคิดระหว่างกัน

พืชผัก ผลไม้ที่ปลูก ตั้งแต่พืชสวนครัว ได้แก่ มะเขือเทศ มะเขือเปราะ พริก กะเพรา โหระพา มะนาวแป้น ผักชี ผลไม้ ได้แก่ สับปะรดปัตตาเวีย แก้วมังกร มะละกอแขกดำ มะพร้าวน้ำหอม มะพร้าวแกง ชมพู่เพชรสายรุ้ง กล้วยน้ำว้า กล้วยหักมุก พืชเศรษฐกิจ

ได้แก่ อัอยโรงงาน มันเทศญี่ปุ่น มันเทศออสเตรเลีย มันต่อเผือก มันปีนัง หน่อไม้ฝรั่ง ข้าวเหนียวพันธุ์ชิวแม่จัน ข้าวเจ้าพันธุ์ข้าวหอม ข้าวจ้างพันธุ์ลีซอ ข้าวเจ้าพันธุ์ข้าวขาว ยางนา ยางพารา ชมพู่เพชร นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงสัตว์เพื่อการเกษตร

Facebook Comments Box