Friday, 29 March 2024

เกษตรรุ่นใหม่เปลี่ยนนาข้าวทำเกษตรผสมผสาน เป็นฟาร์มครบวงจร สละพื้นที่ 50% ขุดบ่อ

จะมีเกษตรกรสักกี่คน…จะยอมเสียพื้นที่มากถึงครึ่งหนึ่งมาขุดบ่อเก็บน้ำเพื่อทำการเกษตรคนปลูกพืชผักในเขตชลประทาน ส่วนใหญ่มักจะละเลยเรื่องน้ำ เพราะคิดว่าเดี๋ยวก็ดึงน้ำจากคลองชลประทานมาใช้ได้ทั้งปี

จะขุดบ่อไปทำไมให้เปลืองพื้นที่ แต่ลืมคิดไปบางครั้งน้ำในคลองอาจมีสิ่งแปลกปลอมปนเปื้อนเข้ามาทำให้พืชผักเสียหายบางทีน้ำเค็มหนุน ผมจึงตัดสินใจใช้พื้นที่ครึ่งหนึ่ง จากทั้งหมด 8 ไร่ ขุดบ่อลึก 2-3 เมตร

กว้าง 10-12 เมตร ล้อมรอบพื้นที่เป็นรูปตัวแอล เพื่อเก็บกักน้ำไว้ใช้เอง พร้อมเลี้ยงปลาหลายหมื่นตัว ขุดบ่อมา 4 ปี ไม่เคยต้องดึงน้ำจากภายนอกมาใช้ในฟาร์มเลย

วีรพงศ์ สุโอสถ ยังสมาร์ทฟาร์มเมอร์ รุ่นที่ 2 เจ้าของฟาร์มลุงแดง เมลอน & ผักสลัด ต.คลองเจ็ด อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี บอกถึงประโยชน์อีกอย่างของการขุดบ่อล้อมรอบพื้นที่…แม้จะมีแดดแรง แต่ไม่ค่อยร้อน

เพราะน้ำโดยรอบจะเป็นตัวช่วยลดอุณหภูมิให้ฟาร์ม ขณะเดียวกันบ่อน้ำยังเป็นเสมือนตัวกั้นอาณาเขตสามารถปลูกไม้ใหญ่หรือไม้ยืนต้นเพื่อเป็นร่มเงา แต่ที่นี่เลือกที่จะปลูกต้นหม่อนเป็นรั้วล้อมรอบ เพราะได้ทั้งผลสดขาย และนำมาแปรรูปได้

วีรพงศ์ เล่าถึงจุดกำเนิดของฟาร์ เดิมพ่อเปลี่ยนจากนาข้าวมาทำสวนส้ม ฝรั่ง และไม้ผลอีกหลายชนิด กระทั่งปี 2556 ตัวเองเรียนจบ เริ่มทำงานในบริษัทเอกชน แต่ด้วยชอบเกษตรและอะไรที่ท้าทาย จึงทดลองทำเมลอนควบคู่ไปกับทำงานประจำตอนแรกปลูกกลางแจ้ง

รอบแรกให้ผลผลิตดี แต่พอรอบต่อมาเริ่มเจอแมลงรบกวน ผลผลิตเสียหายแทบทั้งหมด จึงเริ่มคิดทำโรงเรือนปลูกต้องกลับมาคิดใหม่ทำใหม่ทั้งหมด เพราะการปลูกในโรงเรือนต่างจากการปลูกกลางแจ้ง โดยเฉพาะสูตรดิน สูตรปุ๋ย จึงศึกษาหาความรู้เรื่อยมา จนได้สูตรต่างๆ เป็นของตัวเอง

เมื่อทุกอย่างอยู่ตัว 2 ปีที่แล้ว จึงลาออกจากงานมาเป็นเกษตรกรเต็มตัวต่อมาเริ่มมองว่าเมลอน 3 เดือน ถึงจะเก็บผลขายได้ จึงปลูกผักสลัดเสริมระหว่างรอเมลอน เพราะผักสลัดที่ใช้เวลาปลูกแค่เดือนเดียวจากนั้นต่อยอดมาปลูกมะเขือเทศเสริมอีกขั้น เพราะปลูกแค่ 2 เดือน…ทำให้ภายในครึ่งปี

มีผลผลิตให้เก็บขายได้ทุกวัน ขณะที่ลูกหม่อนที่ปลูกเป็นแนวรั้ว สามารถเก็บขายได้ตลอด ทำให้ฟาร์มแห่งนี้มีรายได้ไม่มีวันหยุดผมเริ่มจากโรงเรือนแรกขนาดกว้าง 6.30 ม. ยาว 20 ม. ลงทุนครั้งแรก 65,000 บาท ปลูกเมลอนได้ 400 ต้น พอขายแล้วก็เอามาต่อทุนทำโรงเรือนที่สอง

จนปัจจุบันมีโรงเรือนเมลอน 10 หลัง ผักสลัด 2 หลัง มะเขือเทศ 1 หลัง จัดตารางปลูกไล่รุ่นกันไป เพื่อให้มีผลผลิตออกมาตลอด เพียงพอต่อความต้องการของคนเริ่มเข้ามาดูงาน รวมถึงเยี่ยมชมฟาร์ม ที่ติดตามกันมาจากโลกโซเชียล

จากนั้นมองว่าในเมื่อเป็นคนรุ่นใหม่ น่าจะใช้ระบบสมาร์ทฟาร์มเข้ามาช่วย เพื่อประหยัดต้นทุน ค่าแรง และเวลาด้วยเป็นฟาร์มที่มีการบริหารจัดการน้ำที่ดี สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำ (องค์การมหาชน) จึงเข้ามาสนับสนุนระบบควบคุมฟาร์มอัตโนมัติ

ที่มีคุณสมบัติพิเศษ นอกจากควบคุมอุณหภูมิ อากาศ ความชื้น ทั้งในอากาศและดิน รวมถึงพ่นน้ำ หมอก ระบายอากาศได้อย่างอัตโนมัติแล้ว ยังสามารถรวบรวมข้อมูล จากเซ็นเซอร์ไร้สาย ร่วมกับข้อมูลอุตุนิยมวิทยาจากดาวเทียม โมเดลสภาพอากาศ ประมวลผลเพื่อให้สามารถนำมาปรับปรุงวางแผนการปลูกในรอปต่อไป

สมกับเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ young smart farmer เนื่องจากเป็นคนหนุ่มไฟแรงมีแนวความคิดหัวก้าวหน้าทันต่อโลกในสถานการปัจจุบัน เกษตรกรรุ่นใหม่ หรือกลุ่มผสมผสานและเทคโนโลยี กลุ่ม Young Smart Farmer

ที่ทุกอย่างสามารถควบคุม ส่งข้อมูล และแจ้งเตือนได้จากสมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ต

Facebook Comments Box