Friday, 19 April 2024

เทคนิคการปลูกกล้วยหอมทองสร้างรายได้

กล้วยหอมทองที่ปลูกในประเทศไทย ลักษณะทั่วไปจะมีล้าต้นสูงประมาณ ๓ เมตร เส้นผ่าศูนย์กลางมากกว่า ๒๐ ซม. กาบลำต้นด้านนอกมีประดำ ด้านในสีเขียวอ่อน มีลายเส้นสีชมพู ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้าง เส้นกลางใบสีเขียว ส่วนของดอก ก้านเครือมีขน ปลีรูปไข่ค่อนข้างย า ว ปลายแหลม ด้านบนมีสีแดงอมม่วง กล้วยเครือหนึ่งมี ๔-๖ หวี หวีหนึ่งมี ๑๒-๑๖ ผล ปลายผลมีจุกเห็นชัด เปลือกบาง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง เนื้อสีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม รสหวานน่ารับประทาน

การปลูกกล้วยหอมทอง (เตรียมดิน) เกษตรกรต้องเลือกพื้นที่ให้เหมาะสม น้ำไม่ท่วม ดินร่วนซุย ระบายน้ำได้ดี หากดินตรงไหนเป็นแอ่งควรปรับดินให้มีความลาดเท เพื่อป้องกันน้ำท่วมในฤดูฝน ถ้าจะให้ดินมีแร่ธาตุ มีอินทรียวัตถุสูง เพิ่มธาตุอาหารในดินควรปลูกปอเทืองแล้วไถกลบ ถ้าเป็นดินเหนียวควรท้าการยกร่อง และปลูกบนสันร่องทั้ง ๒ ข้าง ขุดหลุมขนาดกว้าง ๕๐ ซม. ลึก ๕๐ ซม. นำดินที่ขุดกองตากไว้ ๕-๗ วัน เพื่อกำจั ดวัชพืชและศัตรูพืชที่ต กค้างในดิน หลังจากนั้นคลุกเคล้าปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักกับดินชั้นบน แล้วจึงเอา (การปลูก) หน่อ ที่เตรียมไว้วางกลางหลุม กลบดิน รดน้ำ กดดินให้แน่น ระหว่างต้นระหว่างแถวแต่ละหลุมห่างกัน ๒ เมตร เพื่อสะดวกในการพรวนดิน ใส่ปุ๋ย ตั ดใบ หมุนเวียนอากาศได้ดี

เมื่อต้นกล้วยมีอายุ ๒๐-๓๐ วัน ทำการ ปาดหน่อเพื่อให้ต้นและแต กใบเสมอกัน ต้นกล้วยอายุได้ ๔-๖ เดือน จะเริ่มมีการแต กหน่อ หน่อที่เกิดมาเรียกว่า หน่อตาม ควรเอาหน่อออก เพื่อไม่ให้หน่อแย่งอาหารจากต้นแม่ เก็บหน่อไว้ประมาณ ๑-๒ หน่อเพื่อพยุงต้นแม่เมื่อมีลมแรงและเก็บเกี่ยวผลผลิตในปี

(การให้น้ำ)

ในพื้นที่ปลูกขนาดใหญ่ จะใช้วิธีสูบน้ำจากบ่อบาดาล หรือบ่อกั กเก็บที่อยู่ใกล้สวน สูบน้ำขึ้นมารดต้นกล้วย การให้น้ำแค่พอชุ่มชื่น ในช่วงที่ปลูกใหม่ๆ และขณะที่กล้วยตั้งตัวและกำลังติดปลี ติดผลดีแล้ว ไม่จำเป็นต้องให้น้ำทุ กวันเหมือนพืชชนิดอื่น

(การให้ปุ๋ย)

กล้วยเป็นพืชที่ต้องการธาตุอาหารมาก การติดผลจะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับอาหารและน้ำที่ได้รับ ควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก ตั้งแต่เริ่มปลูก การปลูกกล้วยหอมเพื่อส่งออกจะต้องเป็นการผลิตที่ไม่ใส่ปุ๋ยเคมีและไม่ฉีดพ่นสารเคมีโดยเด็ดขาด จะทำกล้วยหอมที่ได้ปราศจากสารพิษปนเปื้อน

(แต่งหน่อกล้วย)

การตั ดแต่งใบกล้วย ขณะที่มีการแต่งหน่อควรทำการตั ดแต่งใบกล้วยควบคู่ไปด้วย จ น กว่ากล้วยต กเครือ ติดใบกล้วยไว้กับต้น ๑๐-๑๒ ใบ ต่อต้น ตั ดด้วยมีดขอให้ชิดต้น อย่ า ให้เหลือก้านกล้วยยื่นย า วออกมา เมื่อเหี่ยวจะท้าให้รัดลำต้น ทำให้ลำต้นส่วนกลางขย า ยได้ไม่มากเท่าที่ควร การปล่อยให้ใบกล้วยมีมากเกินไป จะทำให้ปกคลุมดิน คลุมโคนต้น ทำให้แดดส่องไม่ทั่วถึงพื้นที่ ทำให้ดินมีความชื่นมากเกินไป

(การค้ำลำต้นกล้วย)

กล้วยหอมทองมักประสบปัญหาเรื่องหักล้มง่าย เครือใหญ่หนัก และคออ่อน เมื่อขาดน้ำหรือลมพัดก็หักโค่นเสียหาย จึงต้องใช้ไม้ค้ำยันหรือดามกล้วยทุ กต้นที่ออกปลีแล้ว และตรวจดูการค้ำยันให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง ประมาณ ๑๐ เดือน หลังจากปลูกกล้วยจะเริ่มแทงปลีออกมา เมื่อกล้วยแทงปลีจ น สุดให้ตั ดปลีทิ้ง หากไม่ตั ดปลีกล้วยทิ้งจะทำให้ผลกล้วยเติบโตไม่เต็มที่

(การห่อถุง)

การปลูกกล้วยหอมเพื่อส่งออก หลังจากตั ดปลีแล้ว ควรทำการคลุมถุง ถุงที่ใช้ควรเป็นถุงพลาสติกที่ฟ้าขนาดใหญ่ และย า วกว่าเครือกล้วย เปิดปากถุงให้มีอากาศถ่ายเทได้ดี

(การเก็บเกี่ยว) ประมาณ ๙๐-๑๑๐ วัน กล้วยจะแก่พอดี ก็จะทำการเก็บเกี่ยว สามารถสังเกตได้จากกล้วยหวีสุดท้ายเริ่มกลม สีผลจางลงกว่าเดิม ถ้าปล่อยให้แก่คาต้นมากเกินไปจะทำให้เปลือกกล้วยแต ก ผลเสียหาย

กล้วยหอมอุดมไปด้วยแร่ธาตุและสารอาหารต่างๆ ที่ร่างกายควรได้รับ และให้พลังงานมากถึง 100 กิโลแคลอรีต่อหน่วย เพราะในกล้วยหอมมีน้ำตาลอยู่ 3 ชนิด ได้แก่ ซูโครส ฟรุกโตส และกลูโคส รวมทั้งเส้นใยอาหาร ดังนั้น ร่างกายเราจะได้รับพลังงาน และนำไปใช้ได้ทันที แค่กล้วยหอม 2 ลูกก็ให้พลังงานได้ถึง 90 นาที และยังมีสรรพคุณอื่นๆมากมาย

ปริมาณของ “ความสุข” ไม่ได้ขึ้นอยู่กับจำนวนของ “สิ่งดี ๆ” ที่เราได้รับ แต่อยู่ที่ “มุมมอง” ของเราที่มีต่อ “สิ่งเหล่านั้น” ต่างหาก

ขอบคุณข้อมูลจาก : สานักงานสหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี

Facebook Comments Box