เวลาที่เราได้ทำบุญใดๆ แล้วหากมีคนเห็นการกระทำดีของเราแล้วเขากล่าว “สาธุ” ด้วยความศรัทธาด้วยความปีติยินดีที่ได้เห็นเราทำบุญ เขาคนนั้นก็ได้บุญไปด้วยอย่างไม่น่าเชื่อ เหมือนการจุดเทียนแล้วมีคนมาขอต่อเทียนฉันใดฉันนั้น นี่คือบุญในรูปแบบของการโมทนาบุญเอาจากการเห็นผู้อื่นทำความดี
บุญนั้นมีความมหัศจรรย์มากในเรื่องการสร้างบุญ เราทราบกันดีอยู่แล้วว่า ทำบุญเองก็ย่อมได้บุญ ชวนผู้อื่นทำบุญก็ได้บุญ แต่บางคนแม้จะไม่ได้สละทรัพย์เป็นเจ้าของวัตถุท าน ไม่ได้เป็นผู้ถวายท านด้วยมือ อีกทั้งไม่ได้อยู่ร่วมในการให้ท านกับเขาด้วย แต่มารู้ทีหลังว่าคนอื่นเขาให้ท าน รู้แล้วก็รู้สึกยินดีเลื่อมใสไปกับเขา บุคคลนั้นก็จะพลอยได้รับผลของบุญด้วยอย่างน่าอัศจรรย์
พระอนุรุทธะเถระถามเทพธิดาเจ้าของวิมานนั้นว่าเธอทำบุญด้วยอะไร ทิพย์สมบัติอันมากมายนี้จึงเกิดขึ้นแก่เธอ นางเทพธิดาตอบพระอนุรุทธะว่า
” ข้าแต่พระคุณเจ้าผู้เจริญ ดิฉันเป็นเพื่อนของนางวิสาขามหาอุบาสิกาเจ้าค่ะ เมื่อเพื่อนของดิฉันสละทรัพย์ถึง 27 โกฏิ (270 ล้าน) สร้างวัดบุพพารามมหาวิหาร เธอชวนดิฉันและเพื่อนๆ อีก 500 คน ไปเที่ยวชมปราสาทวัดบุพพาราม ดิฉันได้เห็นปราสาทที่เธอสร้างถวายพระภิกษุสงฆ์ที่ดิฉันเคารพ ดิฉันเลื่อมใสในบุญของเธอ จึงอนุโมทนาบุญกับเธอว่า “สาธุ สาธุ สาธุ”
นี่เป็นเพียงตัวอย่างหนึ่งกับการโมทนาบุญกับการทำท านของผู้อื่นเท่านั้น ถ้าเป็นการโมทนาในการสร้างบำเพ็ญบารมีของพระโพธิสัตว์เจ้าหรือพระอริยสงฆ์ หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ด้วยแล้วก็จะยิ่งก่อเกิดผลบุญมหาศาล ผู้ที่เป็นตัวอย่างในกรณีนี้ก็คือ พระนางพิมพา ผู้ที่บำเพ็ญบารมีควบคู่มากับพระพุทธเจ้านั่นเอง เราทราบกันดีว่า พระโพธิสัตว์นั้นบำเพ็ญบารมียิ่งยวดมากแค่ไหนจึงได้สำเร็จเป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้า แต่พระนางพิมพาเล่า สามารถติดตามบุญและมีส่วนได้บุญกับพระพุทธองค์มาตลอดได้อย่างไร เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปเยี่ยมพระนางพิมพาที่ตำหนัก พระพุทธองค์ก็รู้อยู่ว่าเข้าไปในถึงตำหนักของ พระนางพิมพาแล้ว พระนางพิมพาจะอาศัยความรักที่มีอยู่เดิมเข้ามากอดขาของพระองค์ พระองค์จึงได้บอก พระโมคคัลลานะ กับ พระสารีบุตร ก่อนจะเข้าไปว่า ” ถ้าเราเขาไป พระนางพิมพาจะเข้ามากอดขาเรา ขอเธอทั้งสองจงอย่าห้ามพระนางเลย เพราะเราไม่มีอะไรแล้ว ความรู้สึกในกามารมณ์นั้นไม่มีสำหรับเรา ทว่าถ้าเธอห้ามพระนางพิมพาล่ะก็ พระนางพิมพาจะอกแตกต าย เธอจะไม่มีโอกาสได้ผลของความดีใดๆ”
พระสารีบุตรจึงถามว่าเพราะเหตุใด พระพุทธองค์จึงตรัสตอบว่า ” ทั้งนี้เพราะว่า พระนางพิมพา ไม่เคยบำเพ็ญบารมีด้วยตนเองเลย พระนางได้แต่โมทนาบุญกับเราเท่านั้น นับตั้งแต่เริ่มแรกบำเพ็ญบารมีเป็นต้นมา โดยใช้เวลามากถึง 4 อสงไขยกับแสนกัป เป็นคู่บารมีกันมาไม่เคยคลาดกัน” ในพุทธชาดกและพุทธประวัติ เราเห็นเสมอว่าคนที่ทำบุญสร้างบารมีจริงๆ คือ องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เมื่อทำไปแล้วพระนางพิมพา เธอก็บอกยินดีด้วยโดยกล่าวโมทนาสาธุ แม้ครั้งหลังที่มีความสำคัญสุด คือการยกลูกทั้งสองให้เป็นทาสของชูชก
ครั้งนั้นพระนางมัทรี (พิมพา) เธอมีความเสียใจสลบไปที่ไม่พบกับลูกชายลูกสาว เมื่อฟื้นขึ้นมาองค์ พระเวสสันดร จึงได้บอกเธอว่า เราให้ลูกกับชูชกไป ทั้งนี้เพราะปรารถนาในพระโพธิญาณ ของเธอจงโมทนาด้วยเธอก็ยินดีโมทนาบุญที่ได้ทำท านนั้นด้วย เป็นอันว่า พระนางพิมพา แม้จะไม่เคยทำบุญเองอย่างยิ่งยวด แต่ได้กระทำเพียงการโมทนาบุญอย่างเดียว กับผู้ที่บำเพ็ญบารมีสูงสุดก็ย่อมได้บุญมากตามไปด้วย
อัตราส่วนบุญที่เกิดจากการโมทนาบุญนั้นเป็นอย่างไรเรื่องนี้เป็นที่สงสัยกันมากว่าการกล่าวโมทนาบุญนั้นจะได้บุญมากน้อยเท่าไหร่เห็นคนอื่นทำดีแล้วแล้วเราไปขอแบ่งบุญเขามาอย่างนั้นหรือ หรือว่าโมทนาแล้วเป็นการขโมยบุญจากผู้อื่นมาหรือไม่
อานิสงส์ที่จะพึงได้จากการโมทนาบุญนั้นเทียบได้เป็นผลกำไรจากการใช้จิตทำบุญ ไม่ต้องลงทุนเอง ถ้าได้ทำอย่างตั้งใจจริง ด้วยจิตยินดีอย่างเต็มเปี่ยมในคุณงามความดีที่ผู้อื่นทำก็อาจได้บุญมากถึง 90 เปอร์เซ็นต์ ผู้ที่เป็นเจ้าของบุญหรือผู้ที่กระทำบุญนั้นย่อมได้บุญ 100 เปอร์เซ็นต์อยู่แล้ว ส่วนผู้ที่ตั้งใจโมทนาบุญก็ได้ไปครั้งละ 90 เปอร์เซ็นต์ หากมีผู้ที่มาทำบุญผ่านไป 10 คน เราก็ได้บุญประมาณ 900 มากกว่าเจ้าของผู้ทำบุญในแต่ละรายเสียอีก เป็นเคล็ดการทำบารมีให้เต็มเร็วมาก
วิธีการโมทนาบุญที่ถูกต้อง
การโมทนา แปลว่า “ยินดีด้วย” สิ่งสำคัญที่จะให้เกิดบุญสูงสุดคือ ต้องกล่าวคำสาธุยินดีด้วยความจริงใจ หากสักแต่กล่าวว่า สาธุๆๆ ไปอย่างนั้น มันก็จะไม่ได้อะไร แต่คำว่า “สาธุ” นั้นก็ไม่จำเป็นต้องออกเสียงหรือไม่จำเป็นต้องยกมือไหว้ก็ได้ เพียงแต่เอาใจที่ยินดีทำก็เกิดผลบุญได้เลย การแสดงความยินดีกับคุณงามความดีหรือความสำเร็จของผู้อื่นเป็นคุณธรรมของพระพรหมก็คือ “มุทิตา” เป็นตัวหนึ่งใน พรหมวิหาร 4 ซึ่งเป็นบุญใหญ่ พระพุทธเจ้าตรัสว่า “จิตเต อสังกิลิฏเฐ สุคติ ปาฏิกังขา” ถ้าก่อนต าย จิตผ่องใส ก็ไปสู่สุคติ หมายถึง สวรรค์ ก็ได้ พรหมก็ได้ นิพพานก็ได้ สุดแล้วแต่กำลังใจของเรา
การโมทนาบุญนั้นพึ่งเข้าใจว่าเป็นการทำให้จิตใจชุ่มชื่นใจ เขาทำดีเรายินดีด้วย ยินดีกับความดีของเขาไม่ช้าตัวของเราเองก็อยากจะทำความดีตามเขาบ้างเพราะเราเห็นเขาดีเราก็ชอบ เป็นการสร้างพื้นฐานพลังแห่งบุญให้เกิดขึ้นในจิตด้วยตัวเองและเป็นจุดเริ่มต้นในการขวนขวายสร้างคุณงามความดีอื่นๆ ต่อไป สิ่งที่พึงระมัดระวังในการโมทนาบุญก็คือ “ความอิจฉาริษยา” นั้นเป็นตัวทำลายบุญประเภทนี้อย่างแรงกล้า ประเภทที่ว่ากลัวคนอื่นจะได้บุญมากกว่าเรา หรือคิดไปเองว่าบุญเราจะหมด เราอุตส่าห์ทำมาอย่ามาแย่งบุญของฉัน ฉันไม่ให้หรอก
เมื่อใดที่จิตคิดเช่นนี้จิตก็จะปรากฏความเศร้าหมองทำให้บุญที่เราทำมีผลย่อหย่อนลงไป และทำให้เราไม่ได้กุศลจากการโมทนาบุญของผู้ขอโมทนาบุญจากเราเลย จึงควรวางกำลังใจและอธิฐานจิตเราเมื่อมีผู้ขอโมทนาบุญจากเราเสมอว่า
” ข้าพเจ้าขออุทิศส่วนบุญส่วนกุศลนี้ให้กับท่านทั้งหลายที่ขอโมทนาบุญกับเราในทุกครั้งทุกโอกาส ไม่ว่าเราจะทำในอดีตก็ดี ปัจจุบันก็ดี และที่จะบำเพ็ญต่อไปในอนาคตก็ดี ที่เราได้ทราบก็ดี ไม่ทราบก็ดี จะเป็น มนุษย์หรือเทพพรหม เทวา พญานาค ก็ดี ที่มีกายเนื้อก็ดี ไม่มีกายเนื้อก็ดี ขอให้เขาเหล่านี้ จงประสพแต่ความสุขพ้นจากความทุกข์พ้นภัยจากวัฏสงสาร สัมผัสพระนิพพานอันเป็นบรมสุขด้วยเทอญ”
การโมทนาบุญยังแบ่งออกได้ตามขนาดของบุญและวาระได้สามประการคือ
- การอนุโมทนา หมายถึงการโมทนาบุญของบุคคลใดในการทำบุญเฉพาะครั้งใดครั้งหนึ่ง เช่น พ่อแม่ได้ไปทำบุญเลี้ยงพระที่วัด เราก็ได้อนุโมทนาบุญยินดีในบุญนั้นด้วยครั้งหนึ่ง
2.การโมทนาบุญ หมายถึงการโมทนาบุญยินดีในบุญจากกองกุศลที่หมู่คณะนั้นได้บำเพ็ญ เช่น การโมท นาบุญกฐินท าน ผ้าป่า หรือง านสมโภชฉลองสิ่งก่อสร้างทางศาสนสถาน หรือการโมทนาบุญของบุคคลใด บุคคลหนึ่งโดยเฉพาะในบุญที่เขาผู้นั้นบำเพ็ญมาตลอด เช่น โมท นาบุญคุณความดีของพระอริยสงฆ์ ครูบาอาจารย์ ที่ท่านได้บำเพ็ญเพียรมาตลอดชี วิต เป็นต้น
แอดมินขอให้ทุกคนจงมีแต่ความเจริญรุ่งเรืองขึ้นๆไป สาธุ
ขอขอบคูณที่มา : NEWS HOUR 24HR เรียบเรียงโดย : เกษตรบ้านทุ่ง