Friday, 19 April 2024

หนุ่มเทศบาล ปลูกผักหวานป่าแซมพืชไร่ไม้ผล สร้างรายได้ดี

“ ผั ก ห ว า น ป่ า ” เป็นผักพื้นบ้านที่พบเห็นได้ง่ายในเขตพื้นที่ราบสูง ที่เป็นป่าเต็งรัง ป่าไผ่ รวมอยู่ในกลุ่มพวกป่าเบญจพรรณ ผักหวานป่ามีลักษณะใบใหญ่ กลม ยาว หนา หากสนใจอยากปลูกผักหวาน แต่ไม่รู้วิธีปลูก ต้นผักหวานมักจะไม่ค่อยโต การปลูกผักหวานให้ได้ผลผลิตที่ดีต้องปลูกเลียนแบบธรรมชาติ โดยปลูกผสมผสานกับพืชไร่ไม้ผลอื่นๆ เพื่ออาศัยร่มเงาไม้พี่เลี้ยงช่วยพรางแสงแดดในแปลงเพาะปลูก จากสภาพอากาศที่แห้งแล้งเช่นนี้ ได้มีชาวบ้านรายหนึ่งใน ชุมชนสันป่าสักพัฒนา ม.10 ต.ปล้อง อ.เทิง จ.เชียงราย หันมาปลูกพืชที่ทนแล้งอย่างผักหวาน ซึ่งสร้างมูลค่าเพิ่มจากผลผลิตได้เป็นอย่างดี

นายจตุพงษ์ ตาเปียง อายุ 33 ปี ปัจจุบันเป็นนิติกรอยู่เทศบาล ต.สบบง อ.ภูซาง จ.พะเยา ได้อาศัยวันว่างร่วมกับครอบครัวพัฒนาพื้นสวนประมาณ 30 ไร่ห่างจากหมู่บ้านเล็กน้อยเป็นพื้นที่ทางการเกษตรที่คุ้มค่าด้วยการปลูกผักหวานป่าปะปนไปกับสวนลำไยและพื้นที่เดิมที่เคยปลูกข้าวโพด ซึ่งเพาะปลูกมาได้ประมาณ 5 ปี สามารถเก็บยอดผักหวานป่าออกขายทุกๆ 3 วัน ให้ลูกค้าที่สำนักงานจนหมดทุกครั้ง นอกจากนี้ยังตอนกิ่งและนำเมล็ดผักหวานป่าที่ได้ออกขายสร้างรายได้เสริมได้เป็นอย่างดีด้วย นายจตุพงษ์ กล่าวว่าตนสนใจด้านการเกษตรมาตั้งแต่เด็กเพราะพ่อแม่มีอาชีพทางการเกษตร ต่อมาเมื่อเรียนนิติศาสตร์ที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงรายและไปต่อปริญญาโทที่มหาวิทยาลัยรามคำแหงจนจบการศึกษาแล้วออกไปทำงานแล้ว ก็ได้หันมาใช้เวลาว่างพัฒนาการเกษตรโดยเห็นว่าการปลูกพืชต่างๆ เช่น ยางพารา ข้าวโพด ลำไย ฯลฯ ก็มีราคาไม่แน่นอน ใช้น้ำและสารเคมีมาก หลายชนิดต้องแผ้วถางพื้นที่ทำให้หน้าดินและป่าไม้เสียหาย

ต่อมาได้มีโอกาสพบพ่อหน่อ แม่มอญ ชาว อ.ขุนตาล ที่อยู่ในชุมชนสันติอโศกก็ได้เรียนรู้การนำเมล็ดผักหวานป่ามาปลูก โดยปลูกปะปนไปกับพืชชนิดอื่นๆ โดยไม่ต้องหาพื้นที่ใหม่ด้วยการใช้เหล็กแหลมเล็กแทงลงไปในดินลึกประมาณ 1 ฟุต จากนั้นหยอดเมล็ดที่นำมาเพาะจนมีรากงอกแล้วลงไปหลุมละ 3-4 เม็ด จากนั้นก็ดูแลพืชชนิดอื่นๆ ไปพลางก่อนรอประมาณ 1.6 ปีต้นผักหวานก็จะเติบโตแล้วให้ยอดเป็นผลผลิตไปตลอด ระบบน้ำ…ช่วงเริ่มปลูกใหม่ๆ ตั้งแต่วันแรกเริ่มให้น้ำแต่อย่าให้แฉะเกินไป ถ้าเป็นระบบสปริงเกลอร์ให้เปิดรดนาน 10-20 นาที แต่ไม่จำเป็นต้องรดทุกวัน ถ้าฝนตกให้งด เมื่อต้นโตดีให้เว้นน้ำ ผักหวานจะเปลืองน้ำช่วงตอนเก็บผลผลิต และมีความจำเป็นว่าจะต้องทำผลผลิตให้ออกก่อนผักหวานป่าจะออก ถ้าชนกันผักหวานเราจะไม่ได้ราคา ฤดูของผักหวานป่าคือช่วงเดือนมีนาคม ป้าจึงต้องมีการวางแผนการปลูกที่ดีคือ เริ่มเพาะเมล็ดเดือนเมษายน เดือนมิถุนายนเริ่มปลูก เดือนกันยายนจะเริ่มรูดใบทิ้ง เพื่อให้แตกใบใหม่ออกคือแตกยอด พอแตกยอดจะเก็บผลผลิตได้ตั้งแต่นั้นมาถึงเดือนมีนาคม ใช้เวลาการรูดใบ 22 วัน 1 ปี เก็บขายได้นาน 7 เดือน

ปุ๋ยโดยมากเป็นปุ๋ยขี้วัว…1 ปี ใส่ 2 ครั้ง แบ่งใส่ 6 เดือน 1 ครั้ง ปริมาณ 1 กระสอบ ให้ทีเดียวจบ หรือดูว่าถ้าต้นไหนอ่อนแอก็ใส่เพิ่ม อาจมีปุ๋ยเคมีผสมบ้างเล็กน้อยเพราะคล้ายว่าของป่าจริงๆ เขาไม่ได้เก็บเกี่ยวตลอด จะมีแค่เฉพาะฤดูกาล แต่ของเราปลูกเป็นอาชีพต้องมีการเก็บเกี่ยวจึงจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยเคมีเข้าช่วยเพื่อบำรุงต้นบ้าง โรคแมลง…จะไม่ค่อยมีถ้าหมั่นทำความสะอาดแปลง อย่าปล่อยให้หญ้าขึ้นรก เพราะศัตรูของผักหวานจะเกิดจากแมลงที่อยู่กับหญ้า ถ้าแปลงสะอาดก็เกิดศัตรูพืชได้น้อยมาก ผลผลิตต่อไร่…1 ไร่ ได้ 100 กิโลกรัม 8 ไร่ ได้ผลผลิตประมาณ 700-800 กิโลกรัม เป็นที่น่าพอใจ ปริมาณผลผลิตขึ้นอยู่กับระยะห่างระหว่างต้นด้วย ถ้าปลูกถี่ไม่มีปัญหาแต่น้ำต้องถึง เมื่อต้นแก่จะให้ผลผลิตน้อย ต้นไหนแก่ก็เตรียมตัด ให้ต้นสาวขึ้น พอต้นสาวขึ้นยอดก็จะสวย

นายจตุพงษ์ กล่าวและว่า ปัจจุบันสามารถเก็บผักหวานขายส่งได้กิโลกรัมละ 200-300 บา ท ซึ่งเมื่อพ่อค้าแม่ค้านำไปวางขายที่ตลาดก็จะมีราคาสูงถึงกิโลกรัมละประมาณ 400 บา ท ส่วนเมล็ดจำหน่ายเป็นผลสดกิโลกรัมละ 300-350 บา ท ซึ่งตนจะจำหน่ายแบบเพาะชำในถุงดำให้พร้อมมีพืชพี่เลี้ยงเป็นต้นดอกแคให้ 1 ต้นคู่กันเพราะผักหวานเป็นพืชป่าที่มีความแปลกโดยหากปลูกคู่กับพืชที่เหมาะสมจะเจริญเติบโตได้ดี นอกจากนี้ยังจำหน่ายกิ่งตอนกิ่งละตั้งแต่ 150-300 บา ทแล้วแต่ขนาดอีกด้วย ส่วนการดูแลต้นผักหวานพบว่ามีความง่ายกว่าพืชชนิดอื่น

ปัจจุบันมีผู้สนใจติดต่อขอซื้อทั้งเมล็ด กิ่งตอนและยอดใบอย่างต่อเนื่องแต่ตนไม่พอจะผลิตขายให้ รวมทั้งมีผู้เดินทางไปศึกษาดูงานที่บ้านและสวนอย่างต่อเนื่อง ตนจึงแนะนำให้ผู้สนใจปลูกเพื่อแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำแล้งและรักษาผืนดิน เพราะเป็นไม้ยืนต้นที่ดูแลง่ายแบบพืชป่าทำให้ธรรมชาติสมบูรณ์และไม่ต้องใช้น้ำมากหรือโทรติดต่อตน 089-4325413 ทั้งนี้การปลูกวิธีนี้ไม่จำเป็นต้องเผาป่าตามที่เป็นกระแสข่าวแต่อย่างใดด้วย

ขอขอบคุณที่มาข้อมูล : sanook.com เรียบเรียงโดย : เพจเกษตรบ้านทุ่ง

Facebook Comments Box