ประเพณีการทอดกฐิน ในแต่ละปีกำหนดให้มีการจัดทอดกฐินขึ้นภายใน 1 เดือน หลังประเพณีออกพรรษา โดยวัดที่จะสามารถรับกฐินได้ ต้องมีพระภิกษุจำพรรษาโดยไม่ข า ดพรรษาเลยไม่ต่ำกว่า 5 รูป และแต่ละวัดสามารถรับกฐินได้ปีละ 1 ครั้ง การทอดกฐินเป็นกาลท านต า มพระวินัยกำหนดกาลไว้ คือ ตั้งแต่แรม 1 ค่ำ เดือน 11 ถึงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 12 ผู้มีจิตศรัทธาเลื่อมใสใคร่จะทอดกฐิน ก็ให้ทอดได้ในระหว่างระยะเวลานี้ จะทอดก่อนหรือทอดหลังกำหนดนี้ ก็ไม่เป็นการทอดกฐิน
กฐินจะมีช่วงเวลา นับจากวันออกพรรษาไปหมดเขตวันลอยกระทง ดังนั้นผู้ที่ต้องการจะจัดกฐินควรเตรียมตัวเนิ่นๆ ตั้งแต่ การติดต่อวัดที่จะไปทอดกฐิน โดยกำหนดวันเวลา เพื่อที่จะได้พิมพ์ซองกฐิน แ จ ก จ่าย หากได้ติดต่อวัดเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ก็ทำการจองกฐิน อย่ า งเป็นทางการ ขั้นตอนต่อไป เตรียมรายชื่อ ประธาน , รองประธาน , ก รร มการ รวมถึงเตรียมเรื่องการเดินทางต่างๆ และหากมีง านสั่งทำประเภทปักชื่อ เช่น สัปทนต์ ย่ า ม ต า ลปัตร หมอนอิง ควรติดต่อเผื่อเวลาในการทำด้วย เนื่องจากง านจะค่อนข้างเยอะ ในช่วงเวลาเดียวกัน
เตรียมของที่จะทอดกฐินและบริวารกฐิน สำหรับของหลักๆ คือ ผ้าทอดกฐิน คือ ผ้าไตรครอง ถ้าเป็นวัดทั่วไป สามารถซื้อแบบสำเร็จรูปได้ แต่ถ้าเป็นพระป่า อาจต้องใช้ผ้าข า ว และ สีย้อม ส่วนบริวารกฐิน มีผ้าไตรสัก 2 ชุด เพื่อถวายพระคู่สวด รวมไปถึงของใช้วัดต่างๆ เช่น ผ้าห่มพระประธาน ย า รักษาโรค ธงกฐิน ธงมัจฉา จระเข้ ธงธรรมจักร ของใช้พระต่างๆ ครอบไตรพร้อมพานแว่นฟ้า บ า ตรพระ ย่ า ม ต า ลปัตร สัปทนต์ เครื่องใช้ต่างๆของวัด เป็นต้น สำหรับระยะเวลา ควรเตรียมแต่เนิ่นๆ เพื่อไม่กระชั้นจ น เกินไป โดยเฉพาะท่านที่ต้องเดินทางไกล นอกจากของที่เตรียมในการจัดกฐินแล้ว ทางเจ้าภาพอาจเตรียมอาหารว่าง และ เครื่องดื่ม สำหรับแขกเหรื่อที่มาร่วมง านบุญด้วย
การถวายผ้ากฐินนั้น คือ เมื่อพระสงฆ์ประชุมพร้อมกันแล้ว เจ้าภาพ อุ้มผ้ากฐินนั่งหันหน้าตรงต่อพระประธาน ตั้งนะโม 3 จบ แล้วหันหน้ามาทางพระสงฆ์ กล่าวคำถวายผ้ากฐิน 3 จบ ถ้าเป็นกฐินสามัคคีก็มักเอาด้วยสายสิญจน์โยงผ้ากฐิน เมื่อจับได้ทั่วถึงกัน แล้วหัวหน้านำว่าคำถวาย ครั้นจบแล้ว พระสงฆ์รับว่า สาธุ เจ้าภาพก็ประเคนผ้าไตรกฐินแก่ภิกษุผู้เถระ ครั้นแล้วประเคนเครื่องบริข า รอื่น ๆ เสร็จแล้ว พระสงฆ์ก็ทำพิธีมอบผ้าให้แก่ภิกษุรูปใดรูปหนึ่ง ซึ่งเป็นพระเถระ มีจีวรเก่า รู้ธรรมวินัย ครั้นเสร็จแล้ว พระสงฆ์อนุโมทนา เจ้าภาพกรวดน้ำรับพร ก็เป็นอันเสร็จพิธีการทอดกฐินเพียงนี้
คำถวายผ้ากฐิน
” อิมัง มะยัง ภันเต, สะปะริวารัง, กะฐินะจีวะระทุสสัง, สังสสะ, โอโณชะย า มะ, สาธุ โน ภันเต, สังโฆ, อิมัง สะปะริวารัง, กะฐินะทุสสัง, ปะฏิคคัณหาตุ, ปะฏิคคะเหตตะวาจะ, อิมินา ทุสเสนะ กะฐินัง, อัตถะระตุ, อัมหากัง ฑีฆะรัตตัง หิต า ยะ สุข า ยะ นิพพานายะจะ ฯ ”
ข้าแต่พระสงฆ์ผู้เจริญ ข้าพเจ้าทั้งหลาย ขอน้อมถวายผ้ากฐินจีวร กับทั้งบริวารนี้ แด่พระสงฆ์ ขอพระสงฆ์จงรับผ้ากฐินกับทั้งบริวารนี้ ของ ข้าพเจ้าทั้งหลาย และ เมื่อรับแล้วขอจงกรานใช้ กฐิน ด้วยผ้านี้ เพื่อประโยชน์ และ ความสุขแก่ข้าพเจ้าทั้งหลายสิ้นกาลนานเทอญ ฯ
วัดที่จะรับกฐินได้จะต้องมีพระอยู่จำพรรษาจำนวน 5 รูป หรือ 5 รูปขึ้นไปครบองค์สงฆ์จึงจะเป็น กฐิน และจะต้องรับ กฐินที่อาวาสของตัวเองเท่านั้นจึงจะถูกต้อง พระรูปเดียวที่จำพรรษาอยู่ในอาวาสหนึ่งอาวาสใด ถ้ารับกฐินก็จะเรียกว่ารับกฐินไม่ได้ เพราะว่าไม่ครบองค์สงฆ์
อานิสงส์ของผู้ทอดถวายผ้ากฐิน
สร้างความสามัคคีในระหว่างพุทธบริษัท
เป็นการสั่งสมทุนคือบุญกุศลไว้ในภายภาคหน้า
ได้ชื่อว่าเป็นผู้สืบอายุพระพุทธศาสนา เป็นกุศลอันยิ่งใหญ่
ได้สงเคราะห์พระสงฆ์ต า มพระวินัยซึ่งเป็นไปต า มพระบรมพุทธานุญาต
เป็นการรักษาประเพณีที่ดีงามสืบกันไป
เป็นการบูชาพุทธโอวาทของพระบรมศาสดา
ทำตนให้เป็นประโยชน์ สละทรัพย์ให้มีประโยชน์ต่อพุทธศาสนา
เป็นการสร้างทางไปสวรรค์และนิพพานให้แก่ตนเอง
เป็นกุศลผลบุญที่ใหญ่หลวง ผู้ถวายจะปรารถนาความสำเร็จใด ๆ ในภพชาติใหม่ ก็จะให้สำเร็จได้ดังมโนรถความปรารถนา หรือถ้าจะปรารถนาพุทธภูมิก็ดี ปัจเจกภูมิก็ดี สาวกภูมิก็ดี สาวิกาภูมิก็ดี เมื่อมีวาสนาบ า รมีแก่กล้าแล้วก็จะได้สำเร็จดังมโนปณิธาน หรือความปรารถนาที่ตั้งไว้
การจะได้ผลบุญจากการทำบุญนั้นขึ้นอยู่กับ “จิตใจของคุณเอง” ว่าในขณะที่ทำบุญนั้น จิตใจเราตั้งมั่น มุ่งมั่น และบริสุทธิ์ขนาดไหน หากเรามีจิตใจที่บริสุทธิ์จริงๆ รับรองว่าผลบุญนั้นต้องส่งถึงตัวเราเองแน่นอน ทำบุญอย่ า งเต็มใจไม่ใช่ทำเพื่อคอยแต่หวังผล แล้วบุญนั้นจะส่งผลกลับมาไม่มากก็น้อย
ขอขอบคุณที่มาข้อมูล : sanook.com เรียบเรียงโดย : เพจเกษตรบ้านทุ่ง