Friday, 29 March 2024

อาชีพทำเ งิ น เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง5,000ตัว ขายไข่ – เนื้อ รายได้เกือบแสน/เดือน

เป็ดไล่ทุ่งวันนี้ ไม่ได้เป็นเพียงแค่เป็ดไล่ทุ่งธรรมดาที่วิ่งแห่ไปตามฝูงเป็ดเมื่อถูกเจ้าของต้อน เพราะเป็ดไล่ทุ่งที่อำเภอนางรอง จังหวัดร้อยเอ็ด เป็นเป็ดไล่ทุ่งที่สามารถทำเ งิ นให้กับเจ้าของเดือนละเกือบ 2 ล้านบา ท

คุณศิริพร ชาญณรงค์  อยู่บ้านเลขที่ 2 หมู่ 10  บ้านหว่า ต.ลำไทรยงค์ อ.นางรอง จังหวัดบุรีรัมย์ โทรศัพท์ 080-7221409 เล่าให้ฟังว่า ได้ต้อนฝูงเป็ดไข่ไล่ทุ่งมายังตำบลบึงงาม ตำบลเทอดไทย พื้นที่อำเภอเขาหลวง จังหวัดร้อยเอ็ด จำนวนเป็ดต่อฝูงอยู่ที่ 5,000-10,000 ตัว ต้อนฝูงเป็ดไปเรื่อยๆ พร้อมกับนำครอบครัวเคลื่อนย้ายที่พักตามไปด้วย ซึ่งการเคลื่อนย้ายเป็ดเริ่มขึ้นหลังจากที่ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวนาปรังแล้วเสร็จ

คุณศิริพร เล่าด้วยว่า ฝูงเป็ดของตนมีทั้งหมด 5,000 ตัว เริ่มต้นจากซื้อลูกเป็ดพันธุ์ไข่ตัวเมีย ตัวละ 18 บา ท ให้วัคซีน 4 ครั้ง ครั้งละ 4,000-5,000 บา ท ขุนเป็ดด้วยหัวอาหารและข้าวเปลือก จากนั้นนำเป็ดไปปล่อยตามทุ่งนา ที่มีการเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จแล้ว โดยจ้างรถบรรทุกขนส่ง ราคาตามระยะทางใกล้ไกล ประมาณ 15,000-18,000 บา ท

“เป็ดจะเก็บข้าวเปลือกที่ตกหล่นตามทุ่งนากิน ใช้เวลาเจริญเติบโตประมาณ 45-60 วัน มีไข่เป็ดที่เก็บขายได้วันละ 3,000-4,500 ฟอง ขายราคา 75-90 บา ท ต่อ 30 ฟอง ส่วนค่าใช้จ่ายเป็นค่าแรงงา น คนละ 5,000 บา ท ต่อเดือน จำนวน 5-6 คน ผืนนาที่ใช้เป็นที่เลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งจะได้มูลเป็ดเป็นปุ๋ยอินทรีย์ รวมรายได้ที่ได้จากการเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งต่อวันกว่า 60,000 บา ท

คุณศิริพร กล่าวอีกว่า ฝูงเป็ดที่เลี้ยงจะไข่ไปเรื่อย จนกว่าอายุ 2 ปี 6 เดือน จากนั้นจะมีปริมาณไข่ลดลง จึงขายเป็ดเป็นเนื้อ ราคาตัวละ 50-80 บา ท ส่วนใหญ่ขายเหมาราคาที่ 50 บา ท ถือเป็นการได้ต้นทุนราคาเป็ดคืนมา ตลอดช่วงระยะเวลา 2 ปี 6 เดือน เลี้ยงทั้งคนเลี้ยงทั้งเป็ด ก็ได้ไข่เป็ดเป็นกำไร แต่ถามว่าร่ำรวยหรือไม่ คำตอบคือเกษตรกรพออยู่ได้แบบพอเพียง  สามารถส่งลูกเรียนหนังสือ สร้างบ้าน เลี้ยงดูครอบครัว แม้จะต้องย้ายถิ่นมาแรมรอนในต่างจังหวัดก็ตาม

อย่างไรก็ตาม ก่อนขายเป็นเป็ดเนื้อ ต้องเริ่มเลี้ยงเป็ดรุ่นใหม่ก่อน เพื่อเป็นการหมุนเวียนต่อเนื่องไม่ขา ดช่วง และถือเป็นอาชีพสุจริต

การเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง จะย้ายถิ่นไปตามแปลงนาข้าวที่ชาวนาเก็บเกี่ยวเสร็จ โดยผ่านแปลงนา การผ่านแปลงนาในทุกแห่ง ต้องขออนุญาตเจ้าของที่นา ซึ่งส่วนใหญ่จะอนุญาต เพราะเจ้าของที่นาจะได้รับประโยชน์จากมูลเป็ดเป็นปุ๋ยอินทรีย์

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : เทคโนโลยีชาวบ้าน

เรียบเรียงข้อมูลโดย : เพจเกษตรบ้านทุ่ง

Facebook Comments Box