“เลี้ยงจิ้งหรีด” เลี้ยงง่าย ต้นทุนไม่สูง สร้างกำไรกว่า 1 ล้านบาทต่อปี ..

การเลี้ยงจิ้งหรีดจึงเป็นอาชีพเสริม หรือสินค้าทางเลือกที่น่าสนใจที่สามารถสร้างร า ย ได้ให้กับเกษตรกรได้อย่างดี อีกทั้ง การบริโภคจิ้งหรีดยังเป็นที่นิยมสูง เนื่องจากเป็นแหล่งอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่สำคัญ ประกอบด้วยโปรตีน ไขมัน และคาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้

การทำฟาร์มเลี้ยงจิ้งหรีดยังมีต้นทุนถูกกว่าและใช้พื้นที่น้อยกว่าปศุสัตว์อื่น ปัจจุบันตลาดทั้งในประเทศ และต่างประเทศมีความต้องการต่อเนื่อง และตลาดประเทศตะวันตกเริ่มมีการเปิดรับมากขึ้นจากการลงพื้นที่ของ สศท.12 เพื่อสำรวจและติดตามสถานการณ์การผลิตจิ้งหรีดในพื้นที่สำคัญ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร พบว่า แปลงใหญ่จิ้งหรีด หมู่ที่ 4 ตำบลเนินปอ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร ตัวอย่างการรวมกลุ่มที่ประสบความสำเร็จในการเลี้ยงจิ้งหรีด

โดยนายเจริญ สุมาลี ประธานแปลงใหญ่ บอกเล่าว่า ตนเลี้ยงจิ้งหรีดประมาณ 7 ปี และเริ่มรวมกลุ่มแปลงใหญ่เมื่อปี 2561 ปัจจุบันมีสมาชิก 30 ร า ย โดยนิยมเลี้ยงจิ้งหรีด 3 ชนิด ได้แก่ จิ้งหรีดพันธุ์ทองดำ จิ้งหรีดพันธุ์ขาว และจิ้งหรีดพันธุ์ทองแดง หากจำแนกข้อมูลการเลี้ยงแต่ละประเภท พบว่า จิ้งหรีดพันธุ์ทองดำ ใช้เวลาเลี้ยงเฉลี่ยรุ่นละ 45 วัน จำหน่ายโดยมีพ่อค้ามารับซื้อถึงฟาร์มในราคา 90 บาท/กิโลกรัม หากทอดและข า ยในตลาดราคาอยู่ที่ 130 บาท/กิโลกรัม ส่วนใหญ่นิยมนำมาทอด ลาบ คั่ว อบกรอบปรุงรส และทำน้ำพริก

จิ้งหรีดพันธุ์ขาว ใช้เวลาเลี้ยงเฉลี่ยรุ่นละ 60 วัน ราคา 70 บาท/กิโลกรัม เป็นพันธุ์ที่ต่างประเทศนิยมบริโภค สามารถนำมาทำเป็นผลิตภัณฑ์ผงโปรตีนจิ้งหรีดใช้ในการผสมลงในอาหารประเภทต่างๆ เช่น พาสต้า คุกกี้ เค้ก หรือพิซซ่าต่างๆ เป็นต้น และจิ้งหรีดพันธุ์ทองแดง ใช้เวลาเลี้ยงเฉลี่ยรุ่นละ 80 วัน ราคา 130 บาท/กิโลกรัม ส่วนใหญ่นิยมนำมาทอด ลาบ คั่ว

สำหรับการเลี้ยงจิ้งหรีดพันธุ์ทองดำ ซึ่งเป็นพันธุ์ที่ทางกลุ่มนิยมเลี้ยงมากกว่าพันธุ์อื่น เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่ตลาดในประเทศมีความต้องการสูง ระยะเวลาการเลี้ยงสั้น และได้ผลตอบแทนเร็ว พบว่า ในระยะเวลา 1 ปี สามารถเลี้ยงจิ้งหรีดได้ถึง 6 รุ่น ปัจจุบันมีประมาณ 200 กล่อง (เลี้ยงในกล่องไม้ขนาด 2.4 เมตรX 1.2 เมตร) โดยมีต้นทุนการเลี้ยงเฉลี่ย 803 บาท/กล่อง ผลผลิตจิ้งหรีดประมาณ 20 กิโลกรัม/กล่อง เกษตรกรมีผลตอบแทน 1,800 บาท/กล่อง คิดเป็นผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ย (กำไร) 997 บาท/กล่อง

ทั้งนี้ หากคิดเป็นผลตอบแทนของทั้งกลุ่มแปลงใหญ่ในจำนวน 200 กล่อง จะได้กำไร 199,400 บาท/รุ่น ซึ่งรวมตลอดทั้งปี จำนวน 6 รุ่น จะสร้างกำไร 1,196,400 บาท/ปี นอกจากเกษตรกรจะมีร า ยได้จากการจำหน่ายตัวจิ้งหรีดแล้ว ยังสามารถนำมูลจิ้งหรีดมาทำเป็นปุ๋ยข า ยในร า ค า 40 บาท/กระสอบ เพื่อเป็นการเพิ่ม ร า ยไ ด้ให้กับเกษตรกรอีกทางหนึ่งด้วย สำหรับการเลี้ยงจิ้งหรีดในรุ่นต่อไปนั้น เกษตรกรสามารถเก็บไข่ไว้ทำพันธุ์เองได้ แต่ควรผสมไข่ระหว่างกล่องเลี้ยงเพื่อป้องกันปัญหาเ ลื อ ด ชิดในจิ้งหรีด

ทั้งนี้ การเลี้ยงจิ้งหรีดสามารถสร้างร า ย ได้เสริมให้กับเกษตรกรได้เป็นอย่างดี และใช้ระยะเวลาดูแลต่อวันไม่มาก อย่างไรก็ตาม จิ้งหรีดอ่อนไหวต่อส า ร เ ค มี ทุกชนิด โดยสถานที่เลี้ยงต้องอยู่ห่างจากการใช้ส า ร เ ค มี หรือมีแนวป้องกันส า ร เ ค มี ที่จะพัดผ่านฟาร์ม หากเกษตรกรหรือท่านที่สนใจการเลี้ยงจิ้งหรีด สามารถขอคำปรึกษา นายเจริญ สุมาลี ประธานแปลงใหญ่จิ้งหรีด หมู่ 4 ตำบลเนินปอ อำเภอสามง่าม จังหวัดพิจิตร หรือโทร 06 5475 9392 ซึ่งยินดีให้คำปรึกษาแก่เกษตรกร และผู้สนใจทุกท่าน

ขอขอบคุณที่มา : www.am1386.com

เรียบเรียงข้อมูลโดย : เพจเกษตรบ้านทุ่ง

Facebook Comments Box