ปุ๋ยยูเรียน้ำ เป็นการนำวัตถุดิบที่เป็นอินทรีย์มาทำให้เกิดกระบวนการหมัก นำไปใช้ประโยชน์กับพืชแทนปุ๋ยยูเรียที่เป็นเคมี ซึ่งปุ๋ยยูเรียถือเป็นปุ๋ยชนิดหนึ่งที่มีประสิทธิภาพอย่างมากในการทำเกษตร โดยทั่วไปปุ๋ยยูเรียสูตรเคมีจะมีสูตร 46-0-0 และ 21-0-0 มีธาตุไนโตรเจนที่ช่วยในการเจริญเติบโตของใบและต้น จุดประสงค์ของการทำปุ๋ยยูเรียน้ำ เพื่อลดต้นทุนการทำเกษตร และยังเป็นการทำเกษตรแบบอินทรีย์อีกด้วย ในวันนี้เราจะพาทำปุ๋ยยูเรียน้ำ ที่มีคุณสมบัติเทียบเท่ากับ ปุ๋ยยูเรียแบบเคมีสูตร 46-0-0 กันครับ พร้อมแล้วไปดูขั้นตอนเลยครับ
อุปกรณ์ที่ต้องเตรียม
1ถั่วเขียว 1 กิโลกรัม
2จุลินทรีย์ em 500 ซีซี
3กากน้ำตาล 500 ซีซี
4สับปะรด 1 กิโลกรัม
5ภาชนะในการหมัก ควรจะเป็นภาชนะดินเผาเนื่องจากระหว่างกระบวนการหมักจะมีปฏิกิริยาการกัดกร่อนเกิดขึ้น
6มี ด
7ไม้สำหรับคนส่วนผสม
8หนังสือพิมพ์
9จุลินทรีย์น้ำซาวข้าว 2 ลิตร (หากไม่มี ไม่ต้องใส่ก็ได้ครับ)
ขั้นตอนการทำ
1เทถั่วเขียวลงไปในไห ปริมาณ 1 กิโลกรัม
2หั่นสับปะรดให้เป็นชิ้นเล็กๆ โดยให้หั่นทั้งเปลือกเลยครับ ไม่จำเป็นต้องปลอกเปลือก หั่นเสร็จแล้วเอาลงไหได้เลยครับ
3เติมกากน้ำตาลลงไป
4ตามด้วยจุลินทรีย์ em
5ต่อมาเติมจุลินทรีย์น้ำซาวข้าวตามลงไป
6คนส่วนผสมทุกอย่างให้เข้ากัน จนกว่ากากน้ำตาลจะละลาย
7นำกระดาษหนังสือพิมพ์มาปิดแทนฝาแล้วใช้ยางหรือเชือกรัดให้แน่น จะเป็นการป้องกันมดและแมลง อีกทั้งอากาศยังสามารถถ่ายเทได้
การเก็บรักษาตั้งภาชนะไว้ในที่ร่ม หมักทิ้งไว้เป็นระยะเวลา 1 เดือน จึงจะนำไปใช้งา น ในระหว่างการหมักไม่จำเป็นที่จะต้องมาคอยเปิดฝา เนื่องจากเราใช้เป็นหนังสือพิมพ์ในการปิดแทนใช้ฝา อากาศสามารถผ่านได้ ดังนั้นก็จะเกิดการย่อยสลายได้เอง วิธีการตรวจสอบว่าสามารถที่จะใช้งา นได้หรือยัง ให้ดูจากสีของน้ำหมักจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้ม มีกลิ่นหอมของสับปะรด สูตรนี้ทำแล้วสามารถเก็บไว้ใช้ได้นานจนกว่าจะหมด ไม่มีวันหมดอายุครับ
การนำไปใช้งา นหลังจากหมักครบระยะเวลาที่กำหนดแล้ว การนำไปใช้งา นสามารถทำได้โดยนำไปผสมกับน้ำเปล่าฉีดพ่นหรือใส่บัวรดน้ำ ใช้กับพืชผักสวนครัวที่ต้องการเร่งการเจริญเติบโตในช่วงแรก ช่วงระยะที่จะเริ่มแตกยอด แตกใบ จะทำให้พืชมีใบเขียว สังเคราะห์แสงได้ดี อัตราส่วนการใช้งา น 20 ซีซี : น้ำ 10 ลิตร
สำหรับเกษตรกรท่านไหนที่กำลังมองหาปุ๋ยน้ำดีๆไว้ใช้งา นในการเกษตรของสวนท่าน แนะนำสุตรนี้เลยครับ ใช้วัตถุดิบที่มีอยู่หรือหาซื้อได้ง่าย ราคาไม่แพง ขั้นตอนการทำก็ไม่ยากอีกด้วย แถมยังปลอดสารเคมี ไม่เป็นอันตรายต่อผู้ใช้ ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อมอีกด้วยครับ มีประสิทธิภาพค่อนข้างสูง ลองดูกันนะครับ
ขอบคุณที่มา : แนวทางเกษตร เกร็ดความรู้
เรียบเรียงข้อมูล : เพจเกษตรบ้านทุ่ง