Tuesday, 23 April 2024

คาถาหลวงปู่สรวง บทสวดก่อนนอน ยิ่งสวดยิ่งดี ใครสาธุขอให้ร ว ยมีโชค

หลวงปู่สรวงเป็นพระสงฆ์ผู้มีเชื้อชาติกัมพูชา เมื่อหลวงปู่สรวงเดินทางมาอยู่ในประเทศไทย พุทธศาสนิกชนในประเทศไทย ก็ต่างมีความเคารพศรัทธาต่อหลวงปู่สรวงและมีการแผ่ขยายศรัทธาต่อหลวงปู่สรวงกว้างขวางมากขึ้นอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน เพราะท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีวิถีชีวิตอยู่อย่างสมถะ สันโดษ เรียบง่าย ชอบอยู่กับธรรมชาติในป่า

ใครอยากดวงดีฟังไว้ นี้เป็นคาถาที่หลวงปู่สรวง แห่งวัดไพรพัฒนา จังหวัดศรีสะเกษ ได้มอบให้กับลูกศิ ษย์ท่าน ส วดก่อนนอน ส วดก่อนวัน เลข ออก หรือใช้ส วดก่อนซื้อรางวัล ตามเวลาที่สะดวก (ตั้งนะโม ๓ จบ) สะหะหวຍยัง เอหิ อัคคะชายะ อัคคะชาหิ สะหะหิโต เอหิมะมะ กุลเนียะสัจจัง จักขุวิญญาณัง สติโลกะวิทู สัตถาเทวะมะนุสสานัง อุอะขะหะนิมิตตัง (สวดภ าวนา 9 จบ หรือ 108 จบ ได้ก็จะยิ่งดี)

ตำนานเรื่องเล่าประวัติหลวงปู่สรวงเทวดาเดินดินของชาววัดบ้านขะยูง
วัดบ้านขะยูง ได้ตั้งขึ้นมาพร้อมกับหมู่บ้านขะยูง เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๐ ซึ่งหมู่บ้านขะยูงในขณะนั้นขึ้นกับหมู่ที่ ๘ ตำบลโสน อำเภอขุขันธ์ จังหวัดศรีสะเกษ และได้แยกการปกครองมาขึ้นกับหมู่ที่ ๖ ตำบลละลม ต่อมาได้แยกขึ้นกับบ้านทำนบ หมู่ที่ ๒ ตำบลห้วยตามอญ จนกระทั้งปี พ.ศ.๒๕๓๑ ได้แยกการปกครองเป็นของตนเอง

และได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านขะยูง หมู่ที่ ๑๐ ตำบลห้วยตามอญ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ เหตุผลของการตั้งชื่อหมู่บ้านว่า บ้านขะยูง เพราะ บ้านขะยูงเป็นพื้นที่ที่มีต้นพะยูงอยู่จำนวนมากในสมัยก่อน การเรียกชื่อหมู่บ้านพะยูงจึงเพี้ยนมาเป็นขะยูง อีกเหตุผลหนึ่งคือชาวบ้านนิยมนำต้นไม้มาเผาถ่าน คำว่า ถ่าน ภาษาเข มร เรียกว่า ขะซูง (กะยูง-ขะยูง) นั้นเอง

ผู้ใหญ่บ้านคนแรกของบ้านขะยูงชื่อว่า นายคูณ แก้วชัย และในปี พ.ศ.๒๕๕๐ ได้เลือกตั้งผู้ใหญ่บ้านคนใหม่ ผู้ได้รับเลือก คือ นายบรรจง จันทสุข ได้ดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านมาจนถึงปัจจุบัน ตั้งแต่เริ่มก่อตั้งหมู่บ้าน วัดบ้านขะยูงก็ได้เกิดขึ้นมา โดยมีพระสงฆ์ได้เดินธุดงค์ผ่านมาปลักกลด ชาวบ้านจึงได้อาราธนาท่านอยู่จำพรรษาและได้เริ่มสร้างวัด มีพระสา ปสุโต หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า หลวงตาสงค์ เป็นหัวหน้าที่พักสงฆ์ และมีหลวงปู่สรวง เทวดาเดินดิน ซึ่งชาวบ้านขะยูงให้ความเคารพศรัทธาเลื่อมใส ท่านได้เดินทางมาพักอยู่กับหลวงตาสงค์เป็นประจำ

ในส่วนการก่อตั้งวัดตามกฎหมายโดยมีผู้ใหญ่บ้านขะยูงพร้อมด้วยชาวบ้านได้ร่วมกันอุปถัมภ์บำรุงการสร้างและพัฒนาจนสามารถก่อตั้งเป็นวัดที่ถูกต้องตามกฎหมายและได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๐ เนื้อที่พระราชทานวิสุงคามสีมา กำหนดเขต กว้าง ๑๒ เมตรยาว ๓๔ เมตรคณะสงฆ์ได้เห็นสมควรแต่งตั้งพระครูไพโรจน์อินทสาร (นรินทร์ วิโรจโน) เป็นเจ้าอาวาส วัดบ้านขะยูงเป็นรูปแรก

และได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าคณะตำบลห้วยตึ๊กชู เขต ๒ และได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์มาจนถึงปัจจุบันการก่อสร้างและพัฒนาวัดบ้านขะยูงได้เจริญขึ้นอย่างต่อเนื่องในสมัยพระครูไพโรจน์อินทสาร ซึ่งท่านได้ยกหลวงปู่สรวงเป็นบุคคลสำคัญในฐานะปูชนียบุคคลผู้เป็นที่เคารพศรัทธาของชุมชนบ้านขะยูง

ท่านจึงได้กลายเป็นบุคคลประวัติศาสตร์ เป็นศูนย์รวมศรัทธาของประชาชนในชุมชนผู้วิจัยจึงขอยกเอาเรื่องราวประวัติของหลวงปู่สรวงมาเล่าไว้ในงานวิจัยเล่มนี้ เพื่อให้เห็นว่าหลวงปู่สรวงท่านเป็นที่เคารพศรัทธาต่อบุคคลทั้งหลายอย่างไร

หลวงปู่สรวงเป็นพระสงฆ์ผู้มีเชื้อชาติกัมพูชา เมื่อหลวงปู่สรวงเดินทางมาอยู่ในประเทศไทย พุทธศาสนิกชนในประเทศไทย ก็ต่างมีความเคารพศรัทธาต่อหลวงปู่สรวงและมีการแผ่ขยายศรัทธาต่อหลวงปู่สรวงกว้างขวางมากขึ้นอย่างรวดเร็วในยุคปัจจุบัน เพราะท่านเป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีวิถีชีวิตอยู่อย่างสมถะ สันโดษ เรียบง่าย ชอบอยู่กับธรรมชาติในป่าพักอาศัยในกระท่อมเถียงนาที่ชาวบ้านสร้างไว้เฝ้านาและถวายให้ท่านจำวัด[3] เป็นหลังเล็กๆ มีไม้กระดานเพียงไม่กี่แผ่น

ประวัติหลวงปู่สรวงจากเรื่องเล่าความจำของสานุศิษย์ทั้งหลาย มีอยู่หลายประเด็นที่น่าสนใจ เช่น เกี่ยวกับ ชื่อหลวงปู่สรวง นามว่า “หลวงปู่สรวง” เป็นนามที่รู้จักกันในปัจจุบัน ซึ่งสมัยหนึ่งก่อนที่คนไทยจะเรียกขานท่านว่า “หลวงปู่สรวง” นั้น ชาวบ้านในแถบสุรินทร์ ศรีสะเกษ ได้มีเรียกขานท่านว่า “ลูกเอาว์เบ๊าะ” หรือ ลูกตาเบ๊าะ”

นอกจากนั้น ในคราวที่นายดาเดินเที่ยวไปตามป่าเขาลำเนาไพรกับหลวงปู่สรวงในฝั่งเข มรบางพื้นที่ ได้สังเกตว่าชาวเข มรรู้จักหลวงปู่สรวงในนามว่า “ลูกตาเมือน” (หลวงปู่ไก่) เพราะไปที่ไหนมักจะเห็นหลวงปู่อุ้มไก่อยู่ตลอดเวลา ซึ่งสอดคล้องกับเรื่องเล่าของนายเลียด ว่า ในคราวที่หลวงปู่สรวงได้ปรากฏตัวขึ้นครั้งแรกในหมู่บ้านลุมพุก อ.ขุขันธ์ จ.ศรีสะเกษ ในบุคลิกการนุ่งห่มแต่งกายด้วยผ้าขาว พร้อมกับอุ้มไก่เดินผ่านในหมู่บ้าน แต่ในคราวนั้น หลวงปู่สรวงได้บอกชื่อของตนเอง ให้แก่นายเลียด เสาศิลา ฟังด้วยว่า ตัวท่านเองชื่อว่า สรวง

แนวทางการสอนของหลวงปู่สรวง เช่น หลวงปู่สรวงเอามือคนวนในบาตรเปล่าสอนเป็นปริศนาธรรม ณ ศาลาไม้วัดบ้านขะยูง แก่หลวงพ่อทองพูน อาริโย เจ้าอาวาสวัดป่าโคกชาติ ]นอกจากนี้ ยังมีการสอนเชิงสื่อประดิษฐ์ปริศนาธรรม ซึ่งครูสาโรจน์ วงษ์ศรี ครูโรงเรียนบ้านกระดาน จังหวัดสุรินทร์ และเป็นศิษย์ติดตามรับใช้ใกล้ชิดของหลวงปู่สรวงคนหนึ่ง

ได้ให้เล่าผู้วิจัยฟังไว้หลายเรื่อง เช่น ปริศนาธรรมที่จุดไฟ ปริศนาธรรมว่าวหมุนรอบทิศ ปริศนาธรรมมัดโอ่ง ปริศนาธรรมเนียงไมตรี ปริศนาธรรมขึ้นว่าว ปริศนาธรรมบันได ๖ ขั้น ปริศนาธรรมมัดสุ่ม และอื่นๆ อีกมากมาย รวมถึงปริศนาลายมือหลวงปู่สรวงด้วย แม้หลวงปู่สรวงไม่ได้อธิบายความหมายไว้ แต่ปริศนาธรรมเหล่านั้น สามารถเทียบเคียงอุปมาอธิบายเพื่อสื่อความหมายของหลักธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าได้ซึ่งเป็นประโยชน์แก่การอธิบายชี้แจงเนื้อความ ให้เกิดความเข้าใจที่ง่ายขึ้นนั้นเอง

สมัยก่อนหลวงปู่สรวงมาพักวัดบ้านขะยูงเป็นประจำก่อนที่จะเดินทางไปไหนหลวงปู่ก็จะเข้ามาแวะวัดบ้านขะยูง โดยเฉพาะมาหาหลวงตาสงค์ ซึ่งท่านสนิทคุ้นเคยและอยู่ด้วยกันประจำที่วัดบ้านขะยูง ทำให้หลวงปู่สรวงไปไหนมาไหนก็จะแวะที่วัดบ้านขะยูง

นอกจากนั้นประวัติหลวงปู่สรวงยังเกี่ยวข้องกับพระครูไพโรจน์อินทสาร (นรินทร์ วิโรจโน) ซึ่งท่านเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านขะยูงรูปแรก เป็นพระมหาเถระผู้ใหญ่ที่คนในชุมชนได้ให้ความเคารพนับถือมากท่านเล่าเกี่ยวกับหลวงปู่สรวงว่า ท่านเองไม่ค่อยได้ไปหาหลวงปู่สรวงในช่วงเวลากลางวันเพราะคนเยอะ

แต่หากมีญาติโยมเดินทางมาจากกรุงเทพต้องการไปหาหลวงปู่สรวง ก็จะบอกต่อกันว่า ถ้าอยากเจอหลวงปู่สรวงต้องไปหาหลวงพ่อนรินทร์ก่อน แล้วหลวงพ่อนรินทร์จะพาไปหาหลวงปู่สาย แล้วหลวงปู่สายจะพาไปหาหลวงปู่สรวง แล้วก็จะเจอเอง

เหตุการณ์ที่ท่านพาญาติโยมไปพบหลวงปู่สรวงครั้งสุดท้าย คือ มีโยมมาจากรุงเทพมาหาท่าน บอกว่าอยากจะเจอหลวงปู่สรวง จากนั้นหลวงพ่อก็พาไปหาหลวงปู่สาย พอไปหาหลวงปู่สายท่านก็นับแบงค์ ๒๐ ไว้ ๒๐๐ บาท แล้วก็พาไปหาหลวงปู่สรวง ก็ขึ้นรถกันไป ๑ คันรถตู้

พอไปถึงหลวงปู่สรวงก็เรียกเอาเงิน พูดภาษาเข มรแปลไทยได้ว่า “เอามาสองร้อยสองร้อย” หลวงปู่สรวงเรียกเอาทันที เหตุการณ์นี้ทำให้เชื่อว่าหลวงปู่สรวงรู้กาลล่วงหน้า ว่าหลวงปู่สายเตรียมเงินไปถวาย ๒๐๐ บาท พอหลวงปู่สายถวายหลวงปู่สรวง หลวงปู่สรวงก็เอาแจกโยมที่นั่งอยู่ แจกทุกคน

มีโยมกรุงเทพถวายไก่ย่าง ๑ ไม้ ข้าวเหนียว ๒ ห่อ น้ำขาวละลิตร ๒ ขวด พร้อมกระยาสารถ หลวงปู่สรวงก็รับไว้ จากนั้นหลวงปู่สรวงก็หยิบกระยาสารถโยนไปข้างหนึ่ง โยนไก่ไปข้างหนึ่ง ส่วนน้ำหลวงปู่สรวงเปิดแล้วเทอาบตนเอง โดยที่ท่านไม่ฉันแต่อาบหมด

เป็นเหตุการณ์ที่หลวงพ่อพระครูไพโรจน์อินทสารท่านได้พบและสัมผัสต่อหลวงปู่สรวง พอหลวงพ่อพระครูไพโรจน์อินทสาร ย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดบ้านขะยูง พ.ศ. ๒๕๕๐ ท่านได้เริ่มบูรณะศาลาไม้หลังเก่าที่หลวงปู่สรวงเคยอยู่ท่านได้ใช้ไม้ปะดามช่องทะลุศาลาที่เป็นรอยเผาไฟของหลวงปู่สรวง

นอกจากนั้น ท่านยังเล่าอีกว่า หลวงปู่นั่งที่ไหนก็จะก่อไฟผิงที่นั้น ถ้าเห็นว่าวขึ้นบนต้นไม้ที่ไหนหลวงปู่ก็จะอยู่ที่ตรงนั้น และหลวงปู่จะสั่งให้มัดโอ่งมังกรขึ้นไปด้วย เป็นเหตุให้ทุกคนรู้สึกสงสัยเป็นปริศนาธรรมว่า ท่านให้เอาโอ่งมังกรขึ้นไปทำไม เอาว่าวขึ้นไปทำไม

ตอนนี้ว่าวกลายเป็นสัญลักษณ์ของหลวงปู่ไปแล้ว เรื่องต่างๆ ต้องไปถามยายมีบ้านละลมที่เปิดร้านขายของซึ่งหลวงปู่สรวงไปบ่อย ไปเมื่อไรท่านจะให้เงิน ๒ บาท ชื้อเชือกมัดหนึ่ง ที่ผ่านมาหลวงพ่อก็เคยได้แบงค์ ๑๐ แบงค์ ๒๐ ของหลวงปู่สรวงเหมือนกันเวลาท่านเดินทางเข้ามาประเทศไทยจากเข มร

ท่านจะชอบขึ้นมาทางสำโรงเกียรติ เดินจากสำโรงเกียรติขึ้นมา ขุนหาญ ขุขันธ์ ภูสิงห์ ท่านก็จะมาเดินอยู่แถวนี้ประจำสมัยก่อน แต่ก่อนนั้นก็จะมีหลวงตาแมน พอตาแมนมรณะ ก็มาถึงยุคหลวงปู่สรวง คนจะเรียกแต่หลวงตาเบ๊าะ หรือ ลูกตาเบ๊าะ

ถือได้ว่า หลวงพ่อพระครูไพโรจน์อินทสารท่านเป็นพระสงฆ์ที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับหลวงปู่สรวงอีกรูปหนึ่งและยังได้มาดูแลปกครองวัดที่หลวงปู่สรวงท่านเคยได้อยู่ประกอบกับท่านได้เชิดชูบูชาปฏิปทาของหลวงปู่สรวง ยกให้หลวงปู่สรวงเป็นปูชนียบุคคลที่สำคัญของวัดบ้านขะยูงอีกด้วย

จากเรื่องเล่าประวัติหลวงปู่สรวงข้างต้นต้น จึงเห็นได้ว่า หลวงปู่สรวงมีปฏิทาอันน่าเลื่อมใส เป็นที่เคารพศรัทธาของบุคคลทั้งหลาย ซึ่งชาวพุทธส่วนมากก็จะมีความนิยมศึกษาประวัติเกจิอาจารย์ผู้ทรงอภิญญาอย่างเช่นกรณีหลวงปู่สรวงนี้ และนิยมเดินทางไปท่องเที่ยวเพื่อการกราบไหว้ขอพร

เพราะเชื่อว่าท่านสามารถดลบันดาลความปรารถนาของตนให้สำเร็จได้ เมื่อวัดบ้านขะยูงเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับหลวงปู่สรวงในคราวที่หลวงปู่สรวงมีชีวิตได้อยู่พักอาศัย ณ วัดบ้านขะยูง มีเรื่องราวประวัติและร่องรอยหลักฐานความเกี่ยวข้องสัมพันธ์หลากหลายประการที่น่าสนใจ ก่อเกิดทรัพยากรท่องเที่ยวด้านจิตใจที่สำคัญ ได้แก่

ขอบคุณข้อมูลจากงานวิจัยเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการการท่องเที่ยววิถีสันติภาพอย่างยั่งยืน: กรณีศึกษา วัดบ้านขะยูง ตำบลห้วยตามอญ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ พระปลัดอดิศักดิ์ วชิรญฺโญ, ดร. เรียบเรียงโดยเพจสายบุญ

Facebook Comments Box