Friday, 29 March 2024

ปลูก ไผ่ตงลืมแล้ง ร ายได้ดีกว่าทำนา

สำหรับใครที่ยังไม่มีอาชีพที่มั่นคงเลี้ยงครอบครัว อยากแนะนำให้ลองมาปลูกไผ่ สร้างร ายได้กันดีกว่า ไผ่สายพันธุ์ ไผ่ตงลืมแล้ง เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุด เพราะมีจุดเด่นสำคัญคือ ให้หน่อดก และออกหน่อนอกฤดูได้ดีกว่าพันธุ์อื่นๆ นางอุดม เปียผล อายุ 59 ปี เ ก ษ ต รกรชาวนา เกษตรกรบ้านเลขที่ 67 หมู่ 4 ต.ตลาดน้อย อ.บ้านหมอ จ.สระบุรี เ ก ษตรกร ทำนามานาน มีนา 30 ไร่ ต้องคลุกคลี กับยา กับส า ร เ คมีหน้าแล้งภัยแล้งขาดน้ำแย่งน้ำกันทำนาบ้าง ข้าวขายได้ไม่มีราคา

มีปัญหาข า ด ทุนตลอด ต่อมา ลูกชายของนางอุดม เปิดดูช่องทางหากินทางอินเตอร์เน็ตต ล อ ด จึงแนะนำบอก นางอุดม คุณแม่ ให้เลิกทำนาหันมาปลูกไผ่ตงลืมแล้งแทน นางอุดม จึงได้ทำตามที่ลูกชายที่แนะนำ โดยลูกชายช่วยหาพันธุ์ไผ่ตงลืมแล้งมาให้ปลูก เริ่มแรกปลูกไผ่ตงลืมแล้ง จำนวน 3 ไร่ พลิกพื้นดินที่ทำนามาตลอดชีวิตหันมาพลิกพื้นดินปลูกไผ่ตงแทน

เพื่อนบ้านก็ดูถูก ว่าบ้า ที่เ ลิ กทำนาหันมาปลูกไผ่ตงแทน ใช้น้ำจากคลองชลประทาน คลอง 23 ขวา ใช้น้ำน้อย แ ล ะไผ่ตงลืมแล้ง มีจุดเด่นเรื่องหน่อโต คุณภ า พ ดีและให้ผลดกกว่าไผ่พันธุ์อื่นๆ หลายเท่าตัว นอกจากนี้ ไผ่ตงลืมแล้งยังมีคุณสมบัติเด่นสำคัญ คือทนทานต่อปัญหาน้ำท่วมได้ดีมากและสามารถนำไปแปรรูปอาหารได้หลากหลายเมนู ทั้งต้ม แกง ซุป หมก ผัด ต้มกระดูกหมู รวมทั้งแปรรูปเป็นหน่อไม้ดอง แต่ละปีหน่อไม้ดองมีมูลค่าทางการตลาดสูงมากทีเดียว

ไผ่ชนิดนี้ มีความเป็นพิเศษคือ เปลือกที่หุ้มหน่ออ่อนจะเกลี้ยง ไม่มีขนปกคลุมเหมือนกับหน่ออ่อนของหน่อไม้ทั่วไป ทำให้เวลาแกะเอาเนื้อในไปใช้ประโยชน์สะดวกและสบายมากขึ้น ซึ่ง “ไผ่ตงลืมแล้ง” จะมีหน่ออ่อนตลอดทั้งปีโดยธรรมชาติแม้น้ำท่วมต้นเป็นเวลานานๆ ก็ไม่เป็นไร และยังเป็นไผ่ที่ทนความแห้งแล้งได้เป็นอย่างดีอีกด้วย จะแล้งขนาดไหนยังสามารถแทงหน่ออ่อนขึ้นมาให้เก็บรับประทานหรือเก็บขายได้อย่างต่อเนื่องตลอดเวลาหรือตลอดทั้งปี ทุกสภาพอากาศ จึงถูกตั้งชื่อว่า “ไผ่ตงลืมแล้ง” ดังกล่าว ซึ่งโดย ปกติแล้วไผ่ตงพันธุ์ดั้งเดิม เปลือกหุ้มหน่ออ่อนจะมีขนเยอะและจะไม่แทงหน่ออ่อนให้เก็บกินหรือเก็บขายในช่วงฤดูแล้ง นอกจากนั้น “ไผ่ตงลืมแล้ง” หน่ออ่อนยังมีกรด “ยูริก” ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคเกาต์น้อยมาก จึง สามารถรับประทานได้อย่างเต็มที่ ส่วนเนื้อไม้หรือลำไผ่ของ “ไผ่ตงลืมแล้ง” ยังเป็นไผ่ที่ ตัวมอดไม่กินเนื้อไม้อีกด้วย เลยนิยมนำไปสร้างบ้านทำเฟอร์นิเจอร์ได้ทนทานกว่าไผ่อื่นชัดเจน

ไผ่ตงลืมแล้ง มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอินโดนีเซีย นำเข้ามาปลูกในประเทศไทยนานแล้ว ต้นสูงกว่า 20 เมตร ลำต้นตรงเป็นข้อปล้อง ขนาดลำต้นใหญ่ เนื้อไม้หนา หน่ออ่อนมีเปลือกหุ้มสีเขียวไม่มีขน โผล่ขึ้นมาเหนือดินเรียกว่า “หน่อไม้ไผ่ตง” เนื้อหวานกรอบอร่อยมาก ขนาดของหน่อที่โตเต็มที่ มีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 5-7 กิโลกรัมต่อหน่อ มีหน่อดกไม่ขาดกอหรือตลอดทั้งปี ขยายพันธุ์ด้วยหน่อ ปัจจุบันหน่ออ่อนขายกันกิโลกรัมละหลายบาท จึงเหมาะมากที่จะปลูกเก็บหน่อกินในครัวเรือนหรือเก็บหน่อขายคุ้มค่ายิ่ง ปลูกแล้วไม่ต้องห่วงเรื่องน้ำจะท่วมหรืออากาศจะแห้งแล้งขนาดไหน “ไผ่ตงลืมแล้ง” จะมีหน่อแทงขึ้นให้เก็บกินหรือเก็บขายได้ตลอดเวลา ใครต้องการต้นพันธุ์ไปปลูกเป็นหน่อแท้ติดต่อ “คุณก็อต” โทร.08-9212-5285 ราคาถามกันเอง

ในทางสมุนไพร ของไผ่ตงทุกพันธุ์ ใบแห้งต้มน้ำดื่มเป็นยาขับปัสสาวะ ขับและฟอกโลหิตระดูเสียในสตรี แก้มดลูกอักเสบ แก้ร้อนในกระหายน้ำ รากต้มดื่มขับปัสสาวะแก้ไตพิการดีมากครับ

ยุคนี้ คนไทยใช้ชีวิตลำบากมากขึ้นเพราะสินค้าครองชีพมีราคาแพงแทบทุกอย่าง ทำให้นึกถึงคำพูดของ หม่อมเจ้าสิทธิพร กฤดากร บิดาแห่งวงการเกษตรกรรมสมัยใหม่ ที่ว่า “เงินทองของมายา ข้าวปลาสิของจริง” ถือเป็น อมตะวจี ที่เข้ากับทุกยุคทุกสมัยจริงๆ

สำหรับใครที่ยังไม่มีอาชีพที่มั่นคงเลี้ยงครอบครัว อยากแนะนำให้ลองมาปลูกไผ่ สร้างร ายได้กันดีกว่า ไผ่มีหลากหลายสายพันธุ์ เช่น ไผ่ตงลืมแล้ง ไผ่หม่าจู ไผ่ซางหม่น ไผ่ไจแอนท์ ไผ่ปักกิ่ง ไผ่ตงหม้อ ไผ่หก ไผ่ข้าวหลาม ไผ่บงหวาน ไผ่ดำ ฯลฯ ไผ่ตงลืมแล้ง เกษตรกรนิยมปลูกมากที่สุด เพราะมีจุดเด่นสำคัญคือ ให้หน่อดก และออกหน่อนอกฤดูได้ดีกว่าพันธุ์อื่นๆ

ไผ่ตงลืมแล้ง มีจุดเด่นเรื่องหน่อโต คุณภาพดีและให้ผลดกกว่าไผ่พันธุ์อื่นๆ หลายเท่าตัว หากปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสม มีการบริหารจัดการที่ดี จะให้ผลผลิตสูง 30-50 กิโลกรัม/กอ/ปี นอกจากนี้ ไผ่ตงลืมแล้งยังมีคุณสมบัติเด่นสำคัญ คือทนทานต่อปัญหาน้ำท่วมได้ดีมากและสามารถนำไปแปรรูปอาหารได้หลากหลายเมนู ทั้งต้ม แกง ซุป หมก ผัด ต้มกระดูกหมู รวมทั้งแปรรูปเป็นหน่อไม้ดอง แต่ละปีหน่อไม้ดองมีมูลค่าทางการตลาดสูงมากทีเดียว

ตลาดต้องการ หน่อไม้นอกฤดูจำนวนมาก เกษตรกรสามารถขายสินค้าได้ในราคาสูง ไม่ต่ำกว่า 40-80 บาท/กิโลกรัม แต่การผลิตหน่อไม้นอกฤดูยังไม่เพียงพอต่อความต้องการของตลาด โดยเฉพาะพื้นที่ภาคอีสานมีความต้องการสูงสุด รองลงมาคือ ภาคเหนือ

เทคนิคการปลูกไผ่ตงลืมแล้ง ไผ่ตงลืมแล้ง เป็นไผ่ที่ต้องการความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างสูง จึงจะให้ผลผลิตที่ดี ควรปลูกในดินร่วนปนเหนียว ดินร่วน ดินเหนียว ส่วนดินที่เป็นกรด เป็นทร ายมากๆ สำหรับสภาพดินลูกรังจะไม่แนะนำให้เกษตรกรปลูก

หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ จำเป็นต้องปลูกในพื้นที่ ดินทร าย หรือดินลูกรัง ควรหาดินมาถมให้มีหน้าดินหนาประมาณ 30-50 เซนติเมตร อีกวิธีหนึ่งที่แนะนำ คือก่อนปลูกควรขุดหลุม กว้าง-ยาว 1 เมตร ลึก 0.5 เมตร นำหน้าดิน ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก อินทรียวัตถุเติมลงไปให้เต็มแล้วค่อยปลูก วิธีนี้ก็จะให้ผลผลิตได้ดีเช่นกัน หากปลูกในพื้นที่ลุ่มใกล้แหล่งน้ำ ดินจะเก็บความชื้นได้ดี จะให้ผลผลิตนอกฤดูได้ดีกว่าแหล่งปลูกในพื้นที่ดอน

เนื่องจากเกษตรกรนิยมปลูก ไผ่ตงลืมแล้ง เพราะต้องการหน่อเป็นหลัก จึงสามารถปลูกไผ่ตงได้ในอัตราระยะประชิด โดยปลูกในระยะห่าง 2×3 เมตร เฉลี่ย 1 ไร่ ปลูกได้จำนวน 265 กอ ต้นไผ่สามารถออกหน่อได้ดีและเร็ว เกษตรกรควรปลูกไว้ลำแม่แค่ 1-2 ลำ เท่านั้น การปลูกไผ่ตงลืมแล้งในระยะถี่ ช่วยเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น ประหยัดเวลาและพื้นที่ ลดต้นทุนค่าใช้จ่ายในการดูแล แปลงปลูกไผ่สามารถให้น้ำได้หลายวิธี ขึ้นอยู่กับความพร้อมและสภาพพื้นที่เป็นหลัก ทั้งนี้ การให้น้ำระบบสปริงเกลอร์เป็นวิธีที่ดีที่สุด เพราะน้ำที่ผ่านจากหัวสปริงเกลอร์จะผ่านอากาศ (ไนโตรเจน, ออกซิเจน) ก่อนที่จะตกสู่พื้นดิน ทำให้น้ำมีความเย็น อากาศมีความชื้นสูง ช่วยให้หน่อไม้เติบโตเร็ว แต่การให้น้ำวิธีนี้จะมีต้นทุนค่าใช้จ่ายสูงอยู่บ้าง

ส่วนเทคนิคการให้น้ำแบบสูบลาดตามร่อง ควรปรับให้มีความลาดเอียงเล็กน้อย และควรมีการกรีดยกร่องก่อนปลูก แล้วปลูกลงในร่องวิธีนี้จะช่วยประหยัดต้นทุนค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี ส่วนการใช้น้ำแบบสายยางรดเหมาะสำหรับพื้นที่ปลูกขนาดเล็กและเกษตรกรที่มีเวลาในการดูแลสวน

การจัดการปุ๋ยและแต่งกอหากปลูกไผ่ในสภาพดินที่ดี แค่ให้ปุ๋ยคอกเพียง 2-3 ครั้ง ก็เพียงพอแล้ว ไม่แนะให้ใช้ปุ๋ยเคมี เพราะจะทำให้ดินเสื่อมสภาพเร็วและสิ้นเปลืองต้นทุน เมื่อปลูกไผ่ครั้งแรก ควรให้ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก จำนวน 2 กิโลกรัม/กอ อีก 4 เดือน ให้ใส่เพิ่มเป็น 4 กิโลกรัม/กอ หากใครเลี้ยงหมู ไก่ วัว ฯลฯ สามารถนำมูลสัตว์มาใช้เป็นปุ๋ยคอก ก็ช่วยประหยัดต้นทุนได้อีกทางหนึ่ง เกษตรกรควรหาปุ๋ยน้ำขี้หมู มาใช้ในสวนไผ่ เพราะต้นไผ่จะสามารถเติบโตได้ดีและมีผลผลิตมาก

หากเป็นไปได้ แนะนำให้เกษตรกรปลูกไผ่ก่อนเดือนมิถุนายน เพราะต้นไผ่จะมีอายุมากพอที่จะทำหน่อนอกฤดูได้ในปีถัดไป การไว้ลำแม่เพื่อจะทำหน่อนอกฤดูควรไว้หน่อช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม เพราะเป็นระยะเหมาะสมที่สุด ลำต้นแม่ จะไม่อ่อนและไม่แก่จนเกินไป หลังจากนั้น ให้ตัดแต่งกิ่งภายในเดือนพฤศจิกายน โดยเลือกลำแม่ไว้เพียงกอละ 1-2 ลำ เท่านั้น ลำที่มีระยะเหมาะสมคือ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลำโต 1.5-2 นิ้ว จะดีที่สุด ถ้ามีหน่อหลุดออกมาหลังจากนี้ให้คอยตัดออกทั้งหมด อย่าไว้ลำอีกเด็ ดข าด

ต้นเดือนมกราคม ควรให้ปุ๋ยและคุมฟางที่โคนกอ และเริ่มให้น้ำประมาณปลายเดือนมกราคม ช่วงแรกควรให้น้ำบ่อยและให้ดินเปียกโชก พออากาศเริ่มอุ่นไผ่จะเริ่มแทงหน่อ ควรให้น้ำน้อยลง เริ่มเก็บหน่อช่วงเดือนกุมภาพันธุ์-พฤษภาคม (นอกฤดู) หลังจากตัดหน่อไปได้สัก 2-3 หน่อ/กอ ควรใส่ปุ๋ยคอกอีกรอบ

ไผ่ 1 กอ จะให้ผลผลิตเฉลี่ย 6-10 กิโลกรัม ต่อหนึ่งนอกฤดูกาล ราคาที่ข ายได้ 40-70 บาท/กิโลกรัม หรือประมาณ 250 บาท/กอ ทำให้มีร ายได้ไร่ละ 50,000 บาทขึ้นไป หากต้องการร ายได้ที่เพิ่มขึ้น ควรปลูกพืชผักริมสวนอื่นๆ เสริมร ายได้ เช่น ชะอม ใบย่านาง ใบแมงลัก เห็ด มะละกอ เพราะพืชผักพื้นบ้านเหล่านี้ ถือเป็นส่วนประกอบในเมนูอาหารที่แปรรูปจากหน่อไม้ สินค้าทุกชนิดข ายดี เป็นที่ต้องการของตลาด

โดยทั่วไป พื้นที่ปลูกไผ่ 4 ไร่ 1,000 กอ จะเก็บหน่อไม้ได้ประมาณวันละ 40-50 กิโลกรัม จำหน่ายได้กิโลกรัมละ 40-60 บาท ทำให้มีร ายได้วันละ 1,600-2,500 บาท ถือเป็นอาชีพที่สร้างร ายได้งาม… จนน่าอิจฉาทีเดียว

ไม่มีอะไรที่บอกว่าขยันแล้วจะรวย แต่อย่างน้อยเราก็ไม่อด

Facebook Comments Box